วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555






ภาษาไทยเป็นภาษาทางการของประเทศไทยและภาษาแม่ของชาวไทยและชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทยภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไตซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะไดสันนิษฐานว่าภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีนและนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่าภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

 ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีนและออกเสียงแยกคำต่อคำเป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจากการออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำและการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้วในประเทศไทยมีการใช้ภาษาไทยถิ่นอื่นด้ว



ไตรยางศ์

    ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย(เฉพาะรูปพยัญชนะ)ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทยเมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันการจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้นการแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน
การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์
ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น3 ประเภท ดังนี้
 อักษรสูง คือตัวพยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา มี 11ตัวได้แก่ ข ฃ ฉ ถ ฐ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง คือตัวพยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

อักษรต่ำ คือตัวพยัญชนะที่มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ มี 24 ตัว แบ่งเป็น อักษรคู่ กับ อักษรเดี่ยว 

อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภฮ

 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 10 ตัว ได้แก่  ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ










ที่มา :